30 มิถุนายน 2552

25 มิถุนายน 2552
วันนี้อาจารย์ สอน เรื่อง ความเสี่ยงในการสอบบัญชีและการควบคุมภายใน
ความเสี่ยงในการสอบบัญชี(Audit Risk) หมายถึง ความเสี่ยงที่ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นที่ไม่เหมาะสมเมื่องบการเงินแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ
ความเสี่ยงในการสอบบัญชีมี 3 ประเภท คือ
1.ความเสี่ยงสืบเนื่อง (Inherent Risk) หมายถึง ความเสี่ยงที่อยู่ในสิ่งที่เราตรวจสอบ เป็นความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
ผู้สอบบัญชีจะใช้ดุลยพินิจเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพในการประเมินความเสี่ยงใน 2 ระดับ คือ
1.1 ความเสี่ยงในระดับของงบการเงิน จะพิจารณาจากงบการเงินโดยรวมว่างบการเงินมีโอกาสแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอย่างเป็นสาระสำคัญได้อย่างไร มองแบบกว้าง ๆ มองในส่วนของผู้บริหาร
ปัจจัยที่ใช้ประเมินความเสี่ยงในระดับงบการเงิน
· ลักษณะทางธุรกิจของกิจการ เช่น กิจการที่ผลิตสินค้าเป็นไปตามสมัยนิยม อาจมีความเสี่ยงที่สินค้าจะล้าสมัยได้ กิจการที่มีรายการกับบุคคล หรือเกี่ยวข้องกันเป็นจำนวนมาก อาจรวมรายการผิดปกติที่เกิดขึ้นระหว่างกัน
· ความซื่อสัตย์ ประสบการณ์และความรู้ของผู้บริหาร และการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารในระหว่างงวดการตรวจสอบ เช่น ผู้บริหารที่ไม่มีความซื่อสัตย์ อาจสั่งให้มีการจัดทำงบการเงินที่ผิดไปจากความเป็นจริง ถ้าผู้บริหารไม่มีประสบการณ์และการเปลี่ยนผู้บริหารระหว่างงวด อาจทำให้การจัดทำงบการเงินมีความผิดพลาดได้
· แรงกดดันที่ผิดปกติต่อผู้บริหาร เช่น กิจการล้มเหลว หรือขาดทุนต่อเนื่อง
· ปัจจัยซึ่งกระทบต่ออุตสาหกรรมที่กิจการดำเนินการอยู่ เช่น สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สภาพการแข่งขัน การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ความต้องการของลูกค้า วิธีปฏิบัติที่ใช้โดยทั่วไปในอุตสาหกรรม
1.2 ความเสี่ยงในระดับของยอดคงเหลือในบัญชีและประเภทรายการ เป็นความเสี่ยงที่มาจากงบการเงินจะประเมินความเสี่ยงที่รายการบัญชีแต่ละบัญชี มีโอกาสแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงอย่างเป็นสาระสำคัญมากน้อยแค่ไหน
ปัจจัยที่ใช้ประเมินความเสี่ยงในระดับของยอดคงเหลือในบัญชีและประเภทรายการ
· ความซับซ้อนของรายการ และเหตุการณ์อื่นที่ต้องใช้ผลงานของผู้เชี่ยวชาญ
·ความเป็นไปได้ที่สินทรัพย์จะสูญหายหรือถูกยักยอก เช่น เงินสด ซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องมาก อาจสูญหาย หรือบิดเบือนได้ง่ายกว่าสินทรัพย์ถาวร
· รายการผิดปกติและซับซ้อน รายการที่ไม่ผ่านการประมวลผลตามปกติ โดยเฉพาะรายการที่เกิดขึ้น ณ วันสิ้นงวดหรือใกล้วันสิ้นงวด เช่น รายการปรับปรุงที่ผิดปกติ
2. ความเสี่ยงจากการควบคุม (Control Risk) หมายถึง ความเสี่ยงที่ระบบบัญชี หรือระบบการควบคุมภายในไม่สามารถป้องกัน หรือตรวจพบ และแก้ไขการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงได้อย่างทันเวลา เช่น กิจการไม่มีนโยบาย หรือแนวทางในการปฏิบัติงาน ทำให้ไม่มีการแบ่งแยกหน้าที่งานที่ทำอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่งานที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง
ระบบการควบคุมภายในที่ดี ควรเป็นระบบที่สามารถป้องกันผลเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากความเสี่ยงสืบเนื่องได้
3. ความเสี่ยงจากการตรวจสอบ (Detection Risk) หมายถึง ความเสี่ยงที่วิธีการตรวจสอบเนื้อหาสาระ ซึ่งผู้สอบบัญชีจะไม่สามารถตรวจพบการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริงที่มีอยู่ในยอดของบัญชีหรือประเภทของรายการ ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุ
· การสุ่มตัวอย่าง ตัวอย่างที่เลือกอาจไม่ใช่ตัวแทนที่แท้จริงของประชากร
· ใช้วิธีตรวจสอบผิด ใช้วิธีการตรวจสอบไม่ตรงกับเรื่องที่ตรวจสอบ
· มีความพกพร่องในการปฏิบัติงาน
ผู้สอบบัญชีไม่สามารถขจัดความเสี่ยงในการสอบบัญชีให้หมดไปได้โดยสิ้นเชิง แต่อาจลดความเสี่ยงในการสอบลงถึงระดับหนึ่งที่ผู้สอบบัญชียอมรับได้ (Acceptable Audit Risk) ซึ่งทำได้โดยการวางแผนการตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ การควบคุมคุณภาพงานสอบบัญชีในแต่ละงาน และการให้คำปรึกษาแก่ผู้ช่วยผู้สอบบัญชี สอบอย่างระมัดระวังรอบคอบ

คำศัพท์บัญชีที่ควรรู้
1. Accounting standand มาตราฐานการบัญชี
2.Administrative review การตรวจสอบด้านบริหาร
3.Audit working papers กระดาษทำการสอบบัญชี
4.Performance audit การตรวจสอบการปฏิบัติการ
5.Substantive test การทดสอบสาระสำคัญ
6.Real account บัญชีแท้
7.Preaudit การตรวจสอบก่อนการปฏิบัติการ
8.Joint cost ต้นทุนร่วม
9.Forecasting การประมาณการ
10.Devaluation การลดค่าเงินตรา

18 มิถุนายน 2552

การวางแผนงานสอบบัญชี

ก่อนที่เราจะมีการวางแผนงาน เราต้องกำหนดวัตถุประสงค์ขึ้นก่อน
· วัตถุประสงค์ของการสอบบัญชี คือ เพื่อให้ผู้สอบบัญชีสามารถแสดงความคิดเห็นต่องบการเงินว่า งบการเงินนั้นได้จัดทำในส่วนสาระสำคัญเป็นไปตามแม่บทบัญชีในรายงานทางการเงินหรือไม่
· การวางแผนงานสอบบัญชี คือ การกำหนดขอบเขตการปฏิบัติงาน วิธีการ และเวลาที่ใช้ในการตรวจสอบ เพื่อรวบรวมหลักฐานการสอบบัญชีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ในแผนที่เราวางไว้นั้นต้องมี
1. วัตถุประสงค์
2. แผนการปฏิบัติการ จะต้องบอกลักษณะ ระยะเวลา ขอบเขต ของการตรวจสอบ
3. การปฏิบัติการตามแผนที่วางไว้

ขั้นตอนการวางแผนงานสอบบัญชี

ขั้นที่ 1 การพิจารณารับงานสอบบัญชี
ควรพิจารณาความเสี่ยงเป็นหลัก โดยดูจากผู้บริหาร สอบถามข้อมูลทั่วไปจากผู้บริหารและพนักงาน การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีของผลิตภัณฑ์ ลักษณะการเป็นเจ้าของ นโยบายเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ ประสบการณ์และชื่อเสียงของผู้บริหาร วิธีปฏิบัติงานของกิจการที่ตรวจสอบ

ขั้นที่ 2 การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจที่ตรวจสอบ
ตรวจเยี่ยมสถานประกอบการ ต้องพกพาความสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพไปด้วย โดยสัมภาษณ์ผู้บริหาร พนักงาน และขอตรวจดูบัญชีของกิจการ

ขั้นที่ 3 การวิเคราะห์เปรียบเทียบในเบื้องต้น
ดูอัตราส่วนทางการเงิน อัตราส่วนของสินค้าคงเหลือ

ขั้นที่ 4 การกำหนดระดับความมีสาระสำคัญ (Materiality Level)
ระดับความไม่ถูกต้องของรายการและข้อมูลที่ผู้สอบบัญชียอมรับได้ โดยผู้สอบบัญชีสามารถแสดงความเห็นต่องบการเงินอย่างไม่มีเงื่อนไขได้ แม้ว่า จะพบความไม่ถูกต้องของรายการและข้อมูลในงบการเงินซึ่งมิได้มีการปรับปรุงแก้ไข
สาระสำคัญ อาจกำหนดโดยลักษณะของการแสดงข้อมูลที่ขัดต่อข้อเท็จจริง เพราะบางรายการอาจมีสาระสำคัญ ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถระบุจำนวนเงินได้ เป็นข้อมูลที่ขัดข้อเท็จจริงเชิงคุณภาพ เช่น การเปิดเผยนโยบายบัญชีที่ไม่ถูกต้องและไม่เพียงพอ

ขั้นที่ 5 ประเมินความเสี่ยงในการสอบบัญชีที่ยอมรับได้

ขั้นที่ 6 ทำความเข้าใจในระบบการควบคุมและการประเมินความเสี่ยงจากการควบคุม

ขั้นที่ 7 การพัฒนาแผนการสอบบัญชีโดยรวมและแนวการสอบบัญชี

การพิจารณารับงานสอบบัญชี
แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
1. การรับงานสำหรับลูกค้าใหม่ ให้ตรวจสอบดูว่ากิจการเคยมีผู้ตรวจสอบบัญชีคนเก่าหรือไม่ ถ้ามีต้องส่งหนังสือไปยังผู้สอบบัญชีเดิมและสอบถามว่า มีเหตุผลทางมรรยาทของวิชาชีพหรือไม่ ถ้าเขาตอบกลับมาว่ามี ผู้สอบบัญชีใหม่ต้องให้กิจการส่งหนังสือแจ้งให้ผู้สอบเดิมบอกเหตุผลนั้นมายังผู้สอบบัญชีใหม่
2. การรับงานสอบบัญชีสำหรับลูกค้ารายเดิม ผู้สอบบัญชีต้องพิจารณาและประเมินความเสี่ยงว่าตนจะรับงานต่อหรือไม่

คำศัพท์บัญชีที่ควรรู้

  1. Account balance ยอดคงเหลือในบัญชีหรือยอดดุลในบัญชี
  2. Accounting entry รายการบันทึกในสมุดบัญชี
  3. Accounting eviderce หลักฐานการบัญชี
  4. Accounting policy นโยบายการบัญชี
  5. budget period รอบระยะเวลางบประมาณ
  6. compliance audit การตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนด
  7. funds flow statement งบกระแสเงินทุน
  8. liquidation value มูลค่าชำระบัญชี
  9. periodicity/assumption งวดเวลา/ข้อสมมติฐานทางการบัญชี
  10. public accountant ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

15 มิถุนายน 2552

เรียน acc310 คาบแรก

การสอบบัญชี คือ กระบวนการของการรวบรวมและการประเมินหลักฐานเกี่ยวกับสารสนเทศ เพื่อระบุและรายงานเกี่ยวกับระดับความสอดคล้องต้องกับของสารสนเทศนั้น กับหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้และการสื่อสารผลลัพธ์ให้ผู้ใช้ที่สนใจ ดูว่าฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน งบกระแสเงินสด ถูกต้องตามสาระสำคัญตามหลักการที่รับรองไว้หรือไม่

คุณสมบัติของผู้สอบบัญชีที่ดี
1.มีจริยธรรม (Ethics) คือ มีความซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลา มีความเที่ยงธรรม โปร่งใส อิสระ
2.มีมาตรฐาน (Standard) คือ มีมาตรฐานในการปฏิบัติงาน มีความรู้ความสามารถ
3.มีความสงสัยเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ (Skepticism) คือ ต้องรู้จักการสังเกต
และต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีด้วย

ในการทำงานของการสอบบัญชีมีผู้เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย
1.ผู้ตรวจสอบบัญชี (Auditor) มีหน้าที่ให้ความเชื่อมั่นกับผู้ใช้
2.ผู้บริหารของกิจการ (Management) มีหน้าที่จัดให้มีการจัดทำบัญชีตามที่รับรองทั่วไป ตรงตามมาตรฐานที่ยอมรับ และจะต้องให้การรับรองไว้ว่าการจัดทำบัญชีนั้น เกิดขึ้นจริงหรือมีอยู่จริง ครบถ้วน สิทธิภาระผูกพัน การตีราคาหรือการวัดมูลค่า การแสดงรายการหรือการเปิดเผยข้อมูล
3.ผู้ใช้ข้อมูล

ข้อจำกัดของการตรวจสอบบัญชี
1.ไม่สามารถสรุปได้ว่าถูกต้อง 100% เพราะได้จากการสุ่มตัวอย่าง
2.การตรวจสอบบัญชีนั้นขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้สอบบัญชี
3.ระบบบัญชีย่อมมีข้อบกพร่องหรือความเสี่ยงเสมอ

รายชื่อสมาชิก
นางสาวพัชรินทร์ เชื้อเวียง 502811
นายกฤตยชญ์ เปรมประยูร 502976
นางสาวพิมพ์ทอง คงทอง 503663
นางสาวอมรรัตน์ เพียรพิทักษ์ 504140
นางสาวพิมพกานต์ แซ่ก๋อย 504360
นางสาวรติกร ภู่ประภากร 5102795